ลักษณะทางกายภาพของสิ่งแวดล้อมรอบตัว ลักษณะทางภายภาพ หมายถึง ลักษณะทางธรรมชาติที่เป็นส่วนประกอบของเปลือกโลก ที่เป็นองค์ประกอบทางภูมิศาสตร์ เช่น ขนาด ที่ตั้ง ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ พืชพรรณธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติ
ที่มารูปภาพ : https://wiki.stjohn.ac.th/groups/poly_ordinarycourse1/wiki/1fa7a/
1. ที่ตั้ง คือ การบอกตำแหน่งสถานที่ต่าง ๆ บนผิวโลก ซึ่งมีลักษณะการบอกเป็น 2 แบบ ดังนี้
1) ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เป็นการบอกตำแหน่งของสถานที่เป็นพิกัด เช่น
- หมู่บ้าน ก ตั้งอยู่ที่พิกัด ละติจูด 16 องศาเหนือ ลองติจูด 102 องศาตะวันออก
2) ที่ตั้งสัมพันธ์ เป็นการบอกตำแหน่งของสถานที่แวดล้อมด้วยสิ่งใดบ้าง เช่น ที่ตั้งของจังหวัดอ่างทอง
ทิศเหนือ จด จ. สุพรรณบุรี สิงห์บุรี และลพบุรี
ทิศใต้ จด จ.พระนครศรีอยุธยา
ทิศตะวันออก จด จ. พระนครศรีอยุธยา
ทิศตะวันตก จด จ. สุพรรณบุรี
2. รูปร่าง คือ ลักษณะรูปร่างของจังหวัด ภาค ประเทศ หรือสิ่งต่าง ๆ ว่าคล้ายกับอะไร เช่น ประเทศมีรูปร่างคล้ายขวาน ประเทศอิตาลีมี รูปร่างคล้ายรองเท้าบูท
3. ขนาด เป็นการเปรียบเทียบพื้นที่ระหว่างจังหวัด ประเทศ เช่น
จ. แพร่ มีพื้นที่ 6,538.59 ตารางกิโลเมตร
จ. พะเยา มีพื้นที่ 6,335 ตารางกิโลเมตร
4. ลักษณะภูมิประเทศ คือ พื้นผิวที่เป็นที่สูง ที่ต่ำ ที่ราบ หุบเขา ซึ่งเป็นลักษณะทางธรรมชาติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก
ประเทศไทยมีลักษณะภูมิประเทศแบ่งเป็น 6 ภาค ดังนี้
- เขตภูเขาและที่ราบระหว่างภูเขาภาคเหนือ
- เขตที่ราบลุ่มภาคกลาง
- เขตภูเขาและที่ราบชายฝั่งภาคตะวันออก
- เขตที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- เขตภูเขาสูงภาคตะวันตก
- เขตภูเขาและที่ราบชายฝั่งคาบสมุทรภาคใต้
5. ลักษณะภูมิอากาศ คือ ลักษณะอากาศของท้องถิ่นหรือของประเทศใดประเทศหนึ่งที่เกิดขึ้นประจำเป็นเวลานาน ทั้งนี้ลักษณะภูมิอากาศ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ที่ตั้ง ภูมิประเทศ อุณหภูมิ ลมประจำ และปริมาณน้ำฝน
6. พืชพรรณธรรมชาติ คือ ลักษณะของชนิดและพรรณไม้ประจำถิ่นชนิดต่าง ๆ ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิอากาศ ได้แก่ ป่าไม้ และทุ่งหญ้า
ป่าไม้ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
ป่าไม้ผลัดใบ เป็นป่าที่ต้นไม้มีใบเขียวตลอดปี มีกระจายอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของประเทศ และป่าไม้ผลัดใบเป็นป่าที่ต้นไม้จะทิ้งใบ พร้อมกันในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากพื้นดินขาดน้ำ สภาพอากาศแห้งแล้งและจะผลิใบใหม่ในฤดูฝน ป่าประเภทนี้พบมากในบริเวณที่ราบและเชิงเขา
ทุ่งหญ้า เป็นไม้ชั้นล่างที่ขึ้นอยู่ในเขตป่าไม้ที่ถูกทิ้งร้าง เช่น หญ้าแฝก หญ้าเพ็ก หญ้าคา
ภาพภูมิอากาศ (อังกฤษ: climate) เป็นการวัดอย่างหนึ่งของรูปแบบค่าเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ความชื้น ความกดอากาศ หยาดน้ำฟ้า (ฝน ลูกเห็บ หิมะ) ปริมาณอนุภาคในบรรยากาศ และตัวแปรทางอุตุนิยมวิทยาอื่นในภูมิภาคหนึ่ง ๆ ในช่วงระยะเวลานาน ภูมิอากาศแตกต่างจากสภาพอากาศ (อังกฤษ: weather) ที่นำเสนอสภาพขององค์ประกอบเหล่านี้และการแปรผันในเวลาสั้น ๆ ในพื้นที่ที่กำหนด
ภูมิอากาศของภูมิภาคหนึ่งเกิดจาก "ระบบภูมิอากาศ" ซึ่งประกอบด้วยห้าองค์ประกอบ ได้แก่ บรรยากาศ (อังกฤษ: atmosphere) อุทกบรรยากาศ (อังกฤษ: hydrosphere) เยือกแข็ง (อังกฤษ: cryosphere) เปลือกโลก (อังกฤษ: lithosphere) และ ชีวมณฑล (อังกฤษ: biosphere)[1]
สภาพภูมิอากาศ ณ จุดใดจุดหนึ่งจะได้รับผลกระทบจากตำแหน่งละติจูดบนพื้นโลก ภูมิประเทศและระดับความสูงที่จุดนั้น เช่นเดียวกับแหล่งน้ำและกระแสใกล้เคียง สภาพอากาศที่สามารถจำแนกตามค่าเฉลี่ยและพิสัยปกติของตัวแปรที่แตกต่างกันไป มากที่สุดได้แก่อุณหภูมิและหยาดน้ำฟ้า รูปแบบการจัดหมวดหมู่ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดได้รับการพัฒนาขึ้นเริ่มแรกโดย Wladimir Köppen. ระบบ Thornthwaite[2] อยู่ในการใช้งานตั้งแต่ปี 1948 ควบรวมกับการคายระเหย (อังกฤษ: evapotranspiration) ที่มีพร้อมกับอุณหภูมิและข้อมูลหยาดน้ำฟ้าถูกนำมาใช้ในการศึกษาความหลากหลายทางสายพันธุ์สัตว์และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระบบของ Bergeron และการจำแนกบทสรุปเชิงพื้นที่ (อังกฤษ: Spatial Synoptic Classification system) จะมุ่งเน้นไปที่จุดเริ่มต้นของมวลอากาศที่กำหนดสภาพภูมิอากาศของภูมิภาคหนึ่ง ๆ
ภูมิอากาศบรรพกาลวิทยา (อังกฤษ: paleoclimatology) คือการศึกษาของภูมิอากาศโบราณ เนื่องจากการสังเกตโดยตรงของสภาพภูมิอากาศยังไม่พร้อมใช้ก่อนศตวรรษที่ 19 ภูมิอากาศบรรพกาลจะถูกอนุมานจาก'ตัวแปรแบบตัวแทน' (อังกฤษ: proxy variables) ที่ประกอบด้วยหลักฐานที่ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตเช่นตะกอนที่พบในพื้นทะเลสาบและแกนน้ำแข็ง และหลักฐานทางชีววิทยาเช่นวงรอบต้นไม้และปะการัง แบบจำลองภูมิอากาศเป็นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของสภาพอากาศในอดีตปัจจุบันและอนาคต การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลายาวและสั้นจากความหลากหลายของปัจจัยต่าง ๆ ภาวะโลกร้อนที่ผ่านมาจะได้กล่าวถึงใน'ภาวะโลกร้อน'
สภาพภูมิอากาศ คือ รูปแบบในระยะยาวของสภาพอากาศ ในพื้นที่เฉพาะหนึ่ง ๆ นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งอธิบายว่าสภาพภูมิอากาศ คือ ค่าเฉลี่ยของสภาพอากาศในภูมิภาคหนึ่ง ๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ซึ่งต้องมากกว่า 30 ปี เมื่อนักวิทยาศาสตร์ทำการศึกษาเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ พวกเขาจะมองไปที่ ค่าเฉลี่ยของน้ำฝน อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ความเร็วลมหรือการตรวจวัดสภาพอากาศอื่น ๆ ที่ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานในพื้นที่เฉพาะหนึ่ง ๆ ยกตัวอย่างเช่น จากการติดตามข้อมูลปริมาณน้ำฝน ระดับน้ำในแม่น้ำ อ่างเก็บน้ำและข้อมูลจากดาวเทียม พบว่าในช่วงหน้าร้อน พื้นที่ที่ศึกษามีความแล้งกว่าปกติและถ้าความแห้งแล้งนี้ยังปรากฏอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ หน้าร้อนก็สามารถเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่าสภาพภูมิอากาศมีการเปลี่ยนแปลง[3]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น